วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


ข้อสอบปลายภาค
       ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามประเด็นต่อไปนี้ (40 คะแนน)

1.  ความหมายคำว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด 
   พระราชกฤษฎีกา เทศบัญญัติ 
               กฎหมายรัฐธรรมนูญ  หมายถึง  กฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ   โดยกำหนดรูปแบบ ระเบียบ โครงสร้าง ตลอดจนแนวทางในการปกครองประเทศ  รวมไปถึงการอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง อำนาจรัฐ  กับการปฏิบัติตนของประชาชน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อให้ประชาชนอยู่ในรัฐอย่างร่มเย็นเป็นสุข โดยการจัดสรรอำนาจต่างๆบนพื้นฐานของความชอบธรรมมีรูปแบบการปกครองโดยให้ความยุติธรรมเสมอหน้ากัน  เท่าเทียมกัน  มีหลักประกันความเป็นพลเมืองแห่งรัฐ             
                 พระราชบัญญัติ หมายถึง  บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่มีฐานะสูงกว่าบทกฎหมายอื่น ๆ นอกจากรัฐธรรมนูญ ก่อนประกาศใช้บังคับ
              พระราชกำหนด  หมายถึง  กฎหมายที่ตราขึ้นโดยฝ่ายบริหารในสถานการณ์อันมีความจำเป็นรีบด่วนเพื่อประโยชน์แห่งรัฐแล้วแต่กำหนดไว้ในกฎหมายแม่ของแต่ละประเทศ พระราชกำหนดมีอำนาจบังคับเช่นพระราชบัญญัติอันตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
               พระราชกฤษฎีกา หมายถึง  บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด
               เทศบัญญัติ  หมายถึง  เทศบัญญัติ   คือกฎหมายซึ่งเทศบาลได้ตราขึ้นใช้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นนั้น ๆ และจะต้องไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายอื่น ๆ ที่มีลำดับศักดิ์สูงกว่า  ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ได้ให้อำนาจเทศบาลตราเทศบัญญัติขึ้นใช้บังคับได้ในเขตเทศบาลของท้องถิ่นตน และสามารถวางโทษปรับแก่ผู้ละเมิดเทศบัญญัติได้ เช่น เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการรักษาความสะอาด เทศบัญญัติ กทม. เรื่องการการควบคุมการก่อสร้างอาคาร

2.  กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศ ปัจจุบันเป็นอย่างไร        
   ในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากที่สุดของการประกาศใช้
   เป็นอย่างไร หากเราไม่มีรัฐธรรมนูญนักศึกษาคิดว่าจะเป็นอย่างไร อธิบาย
กฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้ในการปกครองประเทศไทย ซึ่งมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 18 ฉบับ อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
ถือเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์สูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ ซึ่งในการกำหนดออกกฎหมายสิ่งที่ต้องกำหนดมากที่สุดคือส่วนรวม  ดิฉันคิดว่าหากเราไม่มีรัฐธรรมนูญ ประเทศไทยของเราจะเกิดความวุ่นวายภายในสังคมผู้คนทำอะไรตามความพอใจของตนเอง  เกิดการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ส่งผลกระทบไปทุกด้าน สังคมไม่น่าอยู่ เพราะฉะนั้น เราเป็นคนไทยควรจะรักกันให้มากๆแสดงออกถึงความมีเอกราชในสังคมไทย

3.  ในสภาพปัจจุบันการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 มีนักวิชาการต้องการจะ
   แก้ไขท่านคิดว่าควรที่จะแก้ไขหรือไม่ประเด็นใดอธิบายให้เหตุผล
มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญาและข้อเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญในหมวด พระมหากษัตริย์  ว่ารัฐบาลและรัฐสภาไม่ควรดำเนินการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และบทบัญญัติใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการป้องกันมิให้มีการละเมิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ ตามข้อเรียกร้องของกลุ่มนักวิชาการดังกล่าวข้างต้น
                1.การละเมิดหรือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพองค์พระมหากษัตริย์เป็น ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐ มิใช่ประเด็นหมิ่นประมาทบุคคลทั่วไป เนื่องจากองค์พระมหากษัตริย์ดำรงฐานะเป็นประมุขแห่งรัฐไทย ที่มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
 
               2.จึงเป็นความชอบธรรมตามหลักนิติรัฐ ที่ต้องมีกฎหมายปกป้องมิให้มีการละเมิด หรือการหมิ่นประมาทประมุขแห่งรัฐ ซึ่งไม่อยู่ในฐานะที่จะทำการฟ้องร้องต่อผู้ละเมิดหรือหมิ่นประมาทได้ด้วยตน เอง
ไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องแก้ไข บ้านเมืองของเราร่มเย็นมาได้นับร้อย  เพราะพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น รวมทั้งพระปรีชาสามารถ ของพระองค์ที่ทำเพื่อประชาชน

4.  กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับ
   กัมพูชาที่เป็นกรณีพิพากขึ้นศาลโลกเรื่องดินแดนท่านเป็นคนไทยคนหนึ่ง
   มองปัญหานี้อย่างไร และจะมีวิธีการแก้ไขอย่างไรเพื่อมิให้ไทยต้องเสียดิน
  แดน
กรณีเกิดความขัดแย้งระหว่างเพื่อนบ้านเรื่องชายแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาดิฉันมอง ว่าเราควร หาทางพัฒนาความสัมพันธ์ชายแดนไทยกัมพูชา ซึ่งทั้งสองต่างก็เป็นเมืองพี่เมืองน้องว่า จะต้องหันหน้าปรึกษามาปรึกษา ดำเนินการให้ชายแดนของทั้งสองประเทศ มีความสงบสุข และมีความมั่งคั่งถึงแม้ว่าวันนี้ศาลโลกจะตัดสินให้เป็นของกัมพูชาไปแล้ว แต่ในฐานะที่เป็นคนไทยรู้สึกเสียใจว่าทำไมจึงต้องเกิดการแบ่งแยกแผ่นดินของเราไปด้วย ทั้งๆที่ก็ระบุไว้แล้วว่า แผ่นดินไทยจะแบ่งแยกไม่ได้ แต่สุดท้ายความยุติธรรมก็ไม่เกิดกับคนไทย เพราะฉะนั้นเราต้องช่วยกัน บรรพบุรุษเรา เอาชีวิต เลือดเนื้อเข้าแลกไว้เพื่อให้คนไทยมีแผ่นดินยืนอย่างมีเอกราชอย่างทุกวันนี้
 
5.  พระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา ท่านเห็นด้วย
   กับประเด็นนี้หรือไม่ อธิบายให้เหตุผล
                ดิฉันเห็นด้วยอย่างยิ่งกับว่าพระราชบัญญัติการศึกษาเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญการศึกษา เพราะทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาและรัฐธรรมนูญการศึกษา จะเป็นกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งสิ้นมีการระบุรายละเอียดต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ถูกต้อง
6.ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ขอให้นักศึกษาให้ความหมายการศึกษา 
การศึกษาขั้นพื้นฐาน  การศึกษาตลอดชีวิต  การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ 
การศึกษาตามอัธยาศัย  สถานศึกษา  สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานการศึกษา 
การประกันคุณภาพภายใน  การประกันคุณภาพ   ภายนอก  ผู้สอน  ครู  คณาจารย์ 
ผู้บริหารการศึกษา  ผู้บริหารสถานศึกษา  บุคลากรทางการศึกษา สถานศึกษา
                การศึกษา คือ วิธีการซึ่งส่งผ่านจุดมุ่งหมายและธรรมเนียมประเพณีให้ดำรงอยู่จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน  คือ การศึกษาที่จำเป็น และเป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแรงมั่นคง เพียงพอ กับการ ดำรงชีวิตให้ดีได้ในวันข้างหน้า
                การศึกษาตลอดชีวิต  หมายถึง การจัดกระบวนการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการจัด การศึกษาในรูปแบบของการศึกษาในระบบโรงเรียน (Formal Education) การศึกษานอกระบบโรงเรียน (Non - Formal Education) และการศึกษาตามอัธยาศัย (Informal Education) โดยมุ่งให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self - directed Learning) มุ่งพัฒนาบุคคลให้สามารถพัฒนาตนเอง และปรับตนเองให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของสังคมการเมืองและเศรษฐกิจของโลก
                การศึกษาในระบบ  คือการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
                การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาซึ่งจัดขึ้นนอกระบบปกติ ที่จัดให้กับประชาชนทุกเพศทุกวัย ไม่มีการจำกัดพื้นฐานการศึกษาอาชีพประสบการณ์หรือความสนใจ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ในด้านพื้นฐานแก่การดำรง ชีวิต ความรู้ทางด้านทักษะ การประกอบอาชีพและความรู้ด้านอื่น ๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การจัดการศึกษามีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษาระยะเวลาของการศึกษา การวัดผลและประเมินผล ซึ่งเงื่อนไข การสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตร จะต้องมีตามเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน
                การศึกษาตามอัธยาศัย หมายถึง การศึกษาที่เกิดขึ้นตามวิถีชีวิตที่เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ จากการทำงาน จากบุคคล จากครอบครัว จากชุมชน จากแหล่งความรู้ต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ ความบันเทิง และการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีลักษณะที่สำคัญคือ ไม่มีหลักสูตร ไม่มีเวลาเรียนที่แน่นอน ไม่จำกัดอายุ ไม่มีการลงทะเบียน และไม่มีการสอน ไม่มีการรับประกาศนียบัตร มีหรือไม่มีสถานที่แน่นอน เรียนที่ไหนก็ได้ ลักษณะการเรียนส่วนใหญ่เป็นการเรียนเพื่อความรู้และนันทนาการ อีกทั้งยังไม่จำกัดเวลาเรียน สามารถเรียนได้ตลอดเวลาและเกิดขึ้นในทุกช่วงวัยตลอดชีวิต
                สถานศึกษา หมายถึง หน่วยงานตามกฎหมายที่มีหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นของภาครัฐหรือภาคเอกชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือ หน่วยงานการศึกษาอื่น ๆ
                สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หมายถึง สถานที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                มาตรฐานการศึกษา หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพ ที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่งและเพื่อใช้เปฌนหลัก ในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมินผล และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
                การประกันคุณภาพภายใน  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายในโดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเองหรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแล สถานศึกษานั้น
                การประกันคุณภาพภายนอก  หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายนอกโดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
                ผู้สอน หมายถึง ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่างๆ
                ครู  หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆในสถานศึกษาทั้งรัฐและเอกชน
                คณาจารย์ หมายถึง บุคลากร ซึ่งทำหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา ของรัฐและเอกชน
                ผู้บริหารการศึกษา หมายถึง  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบ การบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งของรัฐและเอกชน
                บุคลากรทางการศึกษา  หมายถึง ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา รวมทั้ง ผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียน การสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ

7.  ในการจัดการศึกษานักศึกษาคิดว่ามีความมุ่งหมายและหลักการจัดการใน
   การจัดการศึกษา อย่างไร
ดิฉันคิดว่าตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ระบุหลักการไว้อย่างชัดเจนแล้วคือ  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีความสุขมีศักยภาพในการศึกษาต่อ และประกอบอาชีพ จึงกำหนดเป็นจุดหมายเพื่อให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อจบ

 8.  มีบุคคลหนึ่งเข้าไปเป็นครูสอนหนังสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่เป็น ประจำกรณีมิได้รับ
การบรรจุเป็นครู หากพิจารณาตามกฎหมายถ้าผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะถูกลงโทษอย่างไร หากไม่ผิดกฎหมายท่านคิดว่าจะมีวิธีการทำอย่างไร

                 ในกรณีนี้ผู้ที่เข้าไปสอนประจำ ถ้าไม่มีใบประกอบวิชาชีพถือว่าผิด ควรจะไปสอบบรรจุให้เรียบร้อยเพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในภายหลัง
 ในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ.2546 ได้กำหนดไว้ว่า ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา
(2) ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนแต่ในบางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
(3) นักเรียน นักศึกษา หรือผู้รับการฝึกอบรมหรือผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ซึ่งทำการฝึกหัดหรืออบรมในความควบคุมของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาซึ่งเป็นผู้ให้การศึกษาหรือฝึกอบรม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
(4) ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
(5) ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียนตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ หรือสถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรงพยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด
(6) คณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาในระดับอุดมศึกษาระดับปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน
(7) ผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา
(8) บุคคลอื่นตามที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด

9.หากนักศึกษาต้องการสอบบรรจุเป็นครูผู้ช่วยจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร
1. เป็นผู้มีคุณสมบัติทั่วไปตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู
    พ.ศ. 2547
               2. เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง ได้รับวุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาหรือ
   ปริญญาตรีที่มีความรู้พื้นฐานทางวิชาชีพครู
               3. เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูหรือได้รับหนังสือรับรองสิทธิ์การประกอบ
     วิชาชีพครูตามกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
                4. ไม่เป็นพระภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช

10.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าเมื่อเรียนวิชานี้ นักศึกษาได้อะไรบ้าง
     ครูผู้สอนวิชาชีพโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ Weblog มีความเหมาะสม
     และเป็นไปได้อย่างไร วิจารณ์แสดงความคิดเห็น และถ้าจะให้น้ำหนัก
     วิชานี้ ควรให้เกรดอะไร  และนักศึกษาคิดว่าตนเองจะได้เกรดอะไร
                สำหรับตัวดิฉันเอง การเรียนในรายวิชานี้นับว่ามีประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย ได้ใช้ทักษะทางด้านเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในการเรียนรู้ร่วมกันกับครูผู้สอนและเพื่อนๆในห้อง ผ่านทางระบบอินเตอร์เน็ต หลายครั้งที่มีปัญหา ครูผู้สอนก็ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี จนทำให้ดิฉันมี บล็อกเป็นของตนเอง เพื่อการนำไปสู่การเรียนในรูปแบบใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้เรียนในรายวิชาอื่น
เหมาะสมกับความก้าวหน้าในปัจจุบันของโลกโลกาวิวัฒน์ และทำให้ผู้เรียนค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น และที่สำคัญยังช่วยลดการใช้กระดาษ เป็นการช่วยลดปัญหารักษ์โลกร้อน ถ้าจะให้น้ำหนักในรายวิชานี้ ดิฉันให้ 100 คะแนน และดิฉันอยากได้เกรด A

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น