วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

ทดสอบกลางภาคเรียน

คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
ทำลงในบล็อกของนักศึกษาเขียนหัวข้อเหมือนอาจารย์ (100 คะแนน)

1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
            ในความคิดของฉัน กฎหมาย สร้างขึ้นเพื่อบังคับใช้ร่วมกันที่มีระบบ แบบแผน ที่จัดทำขึ้นมาอย่างมีระบบและจะต้องปฏิบัติตามที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันความวุ่นวายที่จะเกิดขึ้นทางสังคม ถ้าใครฝ่าฝืนหรือทำผิด จะต้องได้รับโทษตามที่กำหนดไว้ ซึ่งการทำโทษนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่ได้กระทำและด้านการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาค โดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่า ทุกคนที่เกิดบนผืนแผ่นดินไทย ที่มีสัญชาติไทย มีบัตรประชาชนไทย จะต้องได้รับการคุ้มครอง ตามที่กฎหมายกำหนดโดยเท่าเทียมกัน ไม่มีการเลื่อมล้ำกัน ทางสิทธิเสรีภาพ จะสร้างกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองบุคคลใด บุคคลหนึ่งไม่ได้ สิทธิหน้าที่เป็นสิ่งที่ของแต่ละคนเท่าเทียมกัน ทุกคนมีคุณค่าของการเป็นมนุษย์ เราควรจะให้เกียรติ ไม่ใช่คุ้มครองคนมีฐานะและเอาเปรียบคนจน ดิฉันคิดว่ากฎหมายสร้างมาให้ดีเท่าไร ก็ไม่มีความหมายถ้าทุกคนไม่ปฏิบัติตาม ฝ่าฝืน คอยหาช่องทางกระทำ ความผิดอยู่เรื่อย
2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
จากคำถามดังกล่าวดิฉันเห็นด้วย เพราะถ้าครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน มีใบประกอบวิชาชีพ นั่นเป็นเครื่องหมายที่แสดงให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการความเป็นครูมาแล้ว โดยตรง มีความรู้ด้านจัดการเรียนการสอน มีจรรยาบรรณ ได้รับการปลูกฝังทางด้านการสอน ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าพวกเขาได้เป็นครู จะต้องนำความรู้ ความสามารถที่ได้ร่ำเรียนมามาบูรณาการ จัดการเรียนการ สอน ให้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน บริหารการศึกษา พัฒนาความรู้ในสาขาวิชาชีพ
3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการศึกษา ดิฉันมองว่าการรวบรวมและใช้แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นสิ่งที่สามารถนำมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนร่วมกันได้  อาจจะนำนักเรียนไปเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้าน เชิญปราชญ์ชาวบ้านมาให้ความรู้แก่นักเรียน ให้นักเรียนได้ลงมือทำปฏิบัติด้วยจนเองจนเกิดเป็นทักษะ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นแหล่งทุนที่ทุกสถานศึกษามี แต่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์เท่าที่ควร ทำให้เรามองแต่การเรียนรู้ในรูปแบบที่ส่วนกลางกำหนดไว้ จนมองข้ามความสำคัญของท้องถิ่นและทุนสำคัญทางสังคม ในการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา สถานศึกษาควรมีการดำเนินการ ทุกอย่างต้องมีการวางแผน สถานศึกษาควรมี รณรงค์ ส่งเสริมการระดมทุนการศึกษาและทุนในการพัฒนาการศึกษาของทางโรงเรียนดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ สำหรับคนที่บริจาคสามารถเรียกดูข้อมูลการใช้จ่ายเงินได้และเป็นการขอบคุณที่ ได้รับการช่วยเหลือ ควรเชิดชูเกียรติคุณผู้สนับสนุนทุนการศึกษา เช่น การตอบขอบใจหรืออนุโมทนา การขอเขียนชื่อระบุลงบนสิ่งของที่ได้รับบริจาค ฯลฯ การจัดการเรียนรู้ดังกล่าวต้องขึ้นอยู่กับความพร้อมและความร่วมมือของชุมชนแต่ละแหล่ง
4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย
          (1) การศึกษาในระบบ 
(2) การศึกษานอกระบบ 
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย 
              การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานและการศึกษาระดับอุดมศึกษา
        
1การศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปี ก็คือ            ระบบ 6-3-3 หมายความว่ามีการจัดระบบการศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น) การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)
และการศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี
ก่อนระดับอุดมศึกษา

          2.
การศึกษาระดับอุดมศึกษา แบ่งเป็นสองระดับ คือ
ระดับต่ำกว่าปริญญา ที่เรามักจะเรียกกันว่า (ป.ว.ส)
            ระดับปริญญา (ตรี โท เอก) ขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของแต่ละบุคคล

    

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ                                                                                                                  
                  การศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานแตกต่างกันที่ระดับชั้นที่กำหนดไว้ กล่าวคือการศึกษาภาคบังคับ เด็กต้องจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่สาม ถ้าผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลาน เข้าเรียน ต้องได้รับโทษ ครั้งแรกอาจจะเสียค่าปรับแต่ถ้ายังไม่ไปเรียนอีก ผู้ปกครองต้องถูกจับการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าเรียน แต่เป็นสิทธิของแต่ละคน ส่วนการศึกษาภาคบังคับเป็นการบังคับให้เข้าเรียน

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
                
     มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้  ตามมาตรา ๙ ให้จัดระเบียบบริหารราชการในส่วนกลาง ดังนี้       (๑) สำนักงานปลัดกระทรวง
(๒) ส่วนราชการที่มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการตาม มาตรา ๑๐ การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้มีหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้              
        (๑) สำนักงานรัฐมนตรี
        (๒) สำนักงานปลัดกระทรวง
        (๓) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
        (๔) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
        (๕) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
        (๖) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาส่วนราชการตาม (๒) (๓) (๔) (๕) และ (๖) มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน

 
7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา           พ.ศ.2546
                 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการจัดการศึกษาของชาติ จึงต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะอย่างสูงในการประกอบวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรมและประพฤติปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งมีคุณภาพและมาตรฐานเหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง จึงจำเป็นต้องตรากฎหมายเพื่อ พัฒนาวิชาชีพครู ตลอดจนเพื่อปรับสภาในกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติครู ให้เป็นไปตามกำหนด รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวงการศึกษา อีกทั้งเป็นการสืบทอดประวัติศาสตร์และเจตนารมณ์ของการจัดตั้งคุรุสภาให้เป็นสภาวิชาชีพครูต่อไป
8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
                ดิฉันคิดว่าไม่ผิด เพราะ ระบุไว้ในมาตราที่ ๔๓ กำหนดไว้ว่า ให้วิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษาเป็นวิชาชีพควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้ การกำหนดวิชาชีพควบคุมอื่นให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

    ห้ามมิให้ผู้ใดประกอบวิชาชีพควบคุม โดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่กรณีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเป็นครั้งคราวในฐานะวิทยากรพิเศษทางการศึกษา

      และบางโรงเรียน บางครั้งขาดครูบางวิชา ซึ่งไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนของเด็ก ทางโรงเรียนจะเปิดรับสมัครบุคคลดังกล่าวเพื่อ จัดการเรียนการสอนให้เพียงพอ สัญญาการจ้างก็ขึ้นอยู่กับเวลาที่ทางโรงเรียนกำหนด ซึ่งโรงเรียนกำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง
                ความหมายทางด้าน วินัยสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา   ก็มีลักษณะคล้ายกับกฎหมายทั่วไปแต่จะมีลักษณะเฉพาะเจาะจงในการกำหนดพฤติกรรมของข้าราชการ ให้อยู่ในกรอบระเบียบวินัย ไม่พฤติในทางที่ไม่ชอบธรรม                   
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ
(1) ภาคทัณฑ์
(2) ตัดเงินเดือน
(3) ลดขั้นเงินเดือน
(4) ปลดออก
(5) ไล่ออก
10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
เด็กเหล่านี้เป็นกลุ่มเด็กที่ควรได้รับการช่วยเหลือทางสังคมส่วนใหญ่แล้ว มีอายุต่ำกว่าสิบแปด ล้วนแล้วแต่ยังไม่เป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะ เสี่ยงต่อการกระทำผิด เด็กบางคนประพฤติตน ไม่สมควร อาจจะถูกชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีอยู่ในสภาพแวดล้อมหากไม่ได้รับการดูแล ในเมื่อเด็กกลุ่มนี้มีปัญหาอยู่แล้ว พวกเขาควรจะมีหน่วยงานเข้าไปรับการช่วยเหลือ ถ้าปล่อยไว้อาจจะเกิดปัญหาที่ตามมาในภายหลัง ถึงแม้บางครั้งจะยากในการสั่งสอน แต่ถ้าได้รับการกลั่นเกลาจิตใจทุกวัน สภาพจิตใจก็จะดีขึ้น ดีกว่าปล่อยให้ไปเร่ร่อน นำมาอบรมเพื่อพัฒนาเป็นเยาวชนที่ดีของชาติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น