วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมที่ 3

ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ


หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม
 
 
1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูญคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุ
                     จากการศึกษาข้อมูลจากเอกสาร พอจะสรุปได้ว่าพระราชบัญญัติเป็นกฎหมายที่มีลำดับลองจากกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งกฎหมายที่มีลำดับรองจากรัฐธรรมนูญนั่นประกอบด้วยกฎหมาย
3 อย่าง คือ
 1 ประมวลกฎหมาย
 2 พระราชบัญญัติ  
3 พระราชกำหนด  
ซึ่งกฎหมายสามอย่างนี้มีศักดิ์เท่าเทียมกันค่ะ
 2. ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย 
 จากการที่ได้ศึกษาข้อมูล หมวด ๑ บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ มีใจความดังนี้
          มาตรา   การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบรูณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับ
ผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
       
 มาตรา ๗ ในกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาและส่งเสริมสิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ความเคารพกฎหมาย ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะวัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพ รู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้
และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง

 3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย 
        หลักการในการจัดการศึกษาที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติ มีหลักการดังต่อไปนี้
            มาตรา ๘ การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
        (๑) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
        (
๒) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
        (
๓) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย 
           จากการศึกษาพระราชบัญญัติ ระบุไว้ใน  หมวด   บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
   มาตรา ๙ การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
        (
๑) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
        (
๒) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
        (
๓) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและ
   ประเภทการศึกษา
        (
๔) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา และ
การพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
        (
๕) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
        (
๖) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์การชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น
 5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย 
       จากการศึกษาพระราชบัญญัติ ระบุไว้ใน  หมวด ๒ สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา
มาตรา ๑๐ การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการ หรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
เป็นพิเศษ
       
การศึกษาสำหรับคนพิการในวรรคสอง ให้จัดตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสีย
ค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลือ
อื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ   ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึง
ถึงความสามารถของบุคคลนั้น
มาตรา ๑๑ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ได้รับการศึกษาภาคบังคับตามมาตรา ๑๗ และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องตลอดจนให้ได้รับการศึกษา
นอกเหนือจากการศึกษาภาคบังคับ ตามความพร้อมของครอบครัว
       
มาตรา ๑๒ นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์การวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา ๑๓ บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ ดังต่อไปนี้
        (
๑) การสนับสนุนจากรัฐ ให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษา
แก่บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
        (
๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของบุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
ที่ครอบครัวจัดให้ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายกำหนด
        (
๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
       
มาตรา ๑๔ บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบัน
ศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ซึ่งสนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิ ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณี ดังต่อไปนี้
        (
๑) การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแล
รับผิดชอบ
        (
๒) เงินอุดหนุนจากรัฐสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
        (
๓) การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด

 6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
 ในปัจจุบัน.ระบบการศึกษาของไทยมี 3 ระบบ คือ
การศึกษาในระบบ
 การศึกษานอกระบบ
การศึกษาตามอัธยาศัย

              มาตรา ๑๕ การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และ
การศึกษาตามอัธยาศัย
        (
๑) การศึกษาในระบบ เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลา
ของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
(๒) การศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จ
การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการ
ของบุคคลแต่ละกลุ่ม
        (
๓) การศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจ ศักยภาพ ความพร้อม และโอกาส โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม สื่อ หรือแหล่งความรู้อื่น ๆ
       
สถานศึกษาอาจจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือทั้งสามรูปแบบก็ได้
       
ให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ในระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือต่างรูปแบบได้
ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งจากการเรียนรู้นอกระบบ ตามอัธยาศัย การฝึกอาชีพ หรือจากประสบการณ์การทำงาน
       
มาตรา ๑๖ การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับ
อุดมศึกษา
       
การศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย การศึกษาซึ่งจัดไม่น้อยกว่าสิบสองปีก่อนระดับอุดมศึกษา การแบ่งระดับและประเภทของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
การศึกษาระดับอุดมศึกษาแบ่งเป็นสองระดับ คือ ระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
การแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เป็นไป
ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา ๑๗ ให้มีการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด เข้าเรียน
ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ
หลักเกณฑ์และวิธีการนับอายุให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
       
มาตรา ๑๘ การจัดการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดในสถานศึกษา ดังต่อไปนี้
        (
๑) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้แก่ ศูนย์เด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก
ก่อนเกณฑ์ของสถาบันศาสนา ศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มของเด็กพิการและเด็กซึ่งมีความ
ต้องการพิเศษ หรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่เรียกชื่ออย่างอื่น
        (
๒) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ โรงเรียนเอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันพุทธศาสนา
หรือศาสนาอื่น
 7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ดิฉันคิดว่าสามารถนำแนวการจัดการศึกษาไปประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรม   ประยุกต์การสอนสอดแทรกให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา   ปรับปรุงการศึกษาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม   สร้างเสริมความรู้และปลูกฝังจิตสำนึกที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น   ศิลปะและวัฒนธรรมของชาติ   รวมทั้งในการจัดการศึกษาให้คำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันร่วมกัน   
 8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร 
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็น เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษา มีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา
ให้สัมฤทธิผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด 
ดิฉันคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะขึ้นอยู่ศักยภาพในการทำงานความร่วมมือกันของแต่ละฝ่ายในโรงเรียนซึ่งขึ้นอยู่นโยบายของ สพฐ. อย่างไรก็ตามดิฉันมองว่า การเป็นโรงเรียนนิติบุคคลจะทำให้มีความคล่องตัว สถานศึกษาจะได้พัฒนาการเรียนการสอนได้เร็วขึ้น เพราะมีอิสระในการบริหารจัดการ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะทำอะไรได้ทุกอย่างโดยอ้างเป็นมติโดยชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษา ซึ่งผู้บริหารต้องระมัดระวังให้มากขึ้น เพราะเมื่อมีอิสระมากก็จะต้องถูกตรวจสอบเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้การให้โรงเรียนเป็นนิติบุคคลมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี เช่น คณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลโรงเรียน แต่ถ้ามองอีกด้านหนึ่งอาจจะมีช่องว่างให้คณะกรรมการสถานศึกษาเล่นพรรคเล่นพวกกันได้ ซึ่งหากมีระบบการคัดเลือกกรรมการสถานศึกษาที่ให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการ น่าจะมีหลักเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือมากกว่า นอกจากนี้ทางด้น กระทรวงศึกษาธิการ ควรต้องเข้ามาควบคุมมาตรฐานเรื่องค่าใช้จ่ายที่จะเรียกเก็บจากนักเรียนและผู้ปกครอง เพราะหากปล่อยให้เก็บค่าใช้จ่ายสูงขึ้นจะเป็นปัญหาตามมาได้ ไม่ใช่ว่าจ่ายแพงแล้ว แต่คุณภาพไม่ดี
  10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด   
       มาตรา ๔๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุก
ระดับตามความพร้อม ความเหมาะสมและความต้องการภายในท้องถิ่น
           ดิฉันเห็นด้วย และคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านบุคลากร เนื้อหา โครงสร้างหลักสูตร ที่จะต้องสอดคล้องกับผู้เรียนและอยู่ในกรอบทิศทางการศึกษาที่กำหนดไว้ ยึดหลักสูตรแกนกลาง สามารถสอดแทรกขนบ ธรรมเนียม ประเพณีในท้องถิ่น เพื่อบูรณาการเข้าแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ จะทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง นำไปปฎิบัติใช้ได้จริง เมื่อจบหลักสูตรการสอน ดังกล่าว
11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย   
จากการศึกษาระบุไว้อยู่ในหมวด 2 หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ข้อ 3 ให้สถานศึกษาจัดโครงสร้างการบริหารที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาข้อ 4 ให้สถานศึกษาแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้(1) กำหนดแนวทางและวิธีดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(2) กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา(3) เสนอสถานศึกษาแต่งตั้งคณะบุคคลทำหน้าที่ตรวจสอบ ทบทวน และรายงานคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาข้อ 5 ให้สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศที่มีข้อมูลอย่างเพียงพอต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ภายในสถานศึกษาข้อ 6 ให้สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาระดับสถานศึกษาที่ครอบคลุมสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพผู้เรียน สถานศึกษา ท้องถิ่นและสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยคำนึงถึงหลักและครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้(1) เป็นแผนที่ใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สภาพ ปัญหา และความจำเป็นอย่างเป็นระบบ และมีแผนปฏิบัติการประจำปีรองรับ(2) กำหนดวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และสภาพความสำเร็จของการพัฒนาไว้อย่างต่อเนื่อง ชัดเจน และเป็นรูปธรรม(3) กำหนดวิธีดำเนินงานที่มีหลักวิชา หรือผลการวิจัย หรือข้อมูลเชิงประจักษ์ที่อ้างอิงได้ให้ครอบคลุมการพัฒนาด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ การส่งเสริมการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การพัฒนาบุคลากร และการบริหารจัดการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้(4) กำหนดแหล่งวิทยาการภายนอกที่ให้การสนับสนุนทางวิชาการ(5) กำหนดบทบาทหน้าที่ให้บุคลากรของสถานศึกษาทุกคนรวมทั้งผู้เรียนรับผิดชอบ และดำเนินงานตามที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ(6) กำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลากรในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน(7) กำหนดการใช้งบประมาณและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพข้อ 8 ให้สถานศึกษาดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา รวมทั้งมีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ข้อ 9 ให้คณะบุคคลตาม ข้อ 4 (3) ดำเนินการตรวจสอบ ทบทวน และรายงานการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาในการตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ให้ใช้วิธีการที่หลากหลายและเหมาะสม โดยให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำผลไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาข้อ 10 ให้สถานศึกษาจัดให้ผู้เรียนทุกคนในทุกระดับช่วงชั้นที่หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด ได้รับการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลักและคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐานข้อ 11 ให้สถานศึกษาจัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี โดยระบุความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา พร้อมหลักฐานข้อมูลและผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ตาม ข้อ 10 เสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสาธารณชนข้อ 12 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาส่งเสริม สนับสนุน และร่วมดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ดังนี้(1) จัดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ(2) จัดให้มีการกำหนดสาระการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ในวิชาแกนหลักของสถานศึกษาร่วมกันเป็นรายปีหรือเป็นรายภาค(3) จัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในวิชาแกนหลัก และคุณลักษณะที่สำคัญด้วยกระบวนการและวิธีการที่ได้มาตรฐานข้อ 13 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการตรวจสอบ และทบทวนคุณภาพสถานศึกษาอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกสามปี และรายงานผลให้สถานศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัดทราบข้อ 14 ให้หน่วยงานต้นสังกัดศึกษา วิเคราะห์ วิจัย และเผยแพร่นวัตกรรมเกี่ยวกับรูปแบบและเทคนิควิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำกับ สนับสนุน ส่งเสริม ติดตาม ประเมินผลและผดุงประสิทธิภาพของระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาข้อ 15 ในวาระเริ่มแรก ที่ยังมิได้มีการจัดตั้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้บรรดาอำนาจของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอำนาจของหน่วยงานต้นสังกัดระดับจังหวัด

12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด   
                  เห็นด้วย เพราะ ผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แสดงว่ามีคุณสมบัติในการเป็นครูผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษามาแล้ว และเรียนทางด้านนี้มาโดยตรง นับว่ามีความตั้งใจในการประกอบวิชาชีพทางด้านนี้ ควรได้รับการสนับสนุนเอื้ออำนวยต่อการจัดการเรียนการสอน และสนับสนุนบุคคลดังกล่าวให้พัฒนาความสามารถมากยิ่งขึ้น
13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง   
            การจัดการศึกษาจะให้มีคุณภาพได้  จะต้องอาศัยการร่วมแรงร่วมใจกันทุกฝ่ายในสังคม  มีการระดมทรัพยากรเพื่อใช้ในการจัดการศึกษาอย่างหลากหลาย  แต่จากสภาพปัญหายังมีการระดมทรัพยากรที่เกิดจากแหล่งอื่นๆ  เพื่อนำมาใช้ในการจัดการศึกษา  เช่น  เงินอุดหนุนจากท้องถิ่น  การบริจาคจากชุมชน
อาจจะให้ผู้เรียนเรียนรู้ภูมิปัญญาในท้องถิ่น ประดิษฐ์สิ่งของที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อจำหน่ายสร้างรายได้เสริม อีกช่องทางหนึ่ง
 14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

            
ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการเรียนการสอน ซึ่งแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีมาใช้จะกระตุ้นความต้องการของผู้เรียนมากขึ้น แต่ต้องอยู่กับความพร้อมของสถานศึกษานั้นด้วย